เสาตอม่อ (GROUND COLUMN)

เสาตอม่อ (Ground Column) คือ เสาสั้นส่วนที่อยู่ล่างสุดระหว่างฐานรากกับคาน โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือน้ำหนักในทางดิ่ง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม เสาตอม่อ จะเป็นเสาสั้นๆ ส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร แต่เป็นเสาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ขั้นตอนการก่อสร้างเสาตอม่อ เนื่องจากว่าเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้นจึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยในตอนก่อสร้างฐานรากนั้นจะต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE COLUMNS)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา … Read More

เครื่องสั่นคอนกรีต (CONCRETE VIBRATOR) เครื่องมือขาดไม่ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

ในงานคอนกรีตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอัดแน่นคอนกรีตก่อนที่จะแข็งตัว เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่ดี ทำให้เนื้อคอนกรีตอัดแน่นสม่ำเสมอ ไม่เป็นรูโพรง ไม่มีแตกตัวหรือแยกตัวออกจากกัน มีการยึดเกาะยึดเหนี่ยวที่ดีของเหล็กที่ผูกไว้เป็นแบบหล่อ หรือเป็นเหล็กเส้นที่เสริมระหว่างคอนกรีต วิธีการอัดแน่นคอนกรีต สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ – การเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugation) – การกระทุ้ง (Tamping) – การตำ (Rodding) – การเขย่า … Read More

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ของ ภูมิสยามซัพพลาย นั้นมีความยาวแนวราบ 3 เมตร  และมีความสูง 3 เมตร ส่วนของความกว้างของปั่นจั่นมีความกว้างเพียงแค่ 1 เมตรเท่านั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าทำงานในพื้นที่จำกัดได้โดยสะดวก ความยาวในแนวราบ 3 m ความสูง 3 m ความกว้าง 1 m ลูกตุ้มมีน้ำหนัก … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้ยังไง เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม … Read More

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) หินและทราย: ตรวจสอบ GRADATION ตามข้อกำหนดของมวลรวมผสม มอก.397-2524 ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์: ตามข้อกำหนดของ ASTM DESIGNATION c150 TYPE1 หรือ TYPE3 หรือตามข้อกำหนด มอก.397-2524 ประเภท1 หรือประเภท3 … Read More

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภูมิสยามซัพพลาย มีกระบวนการดังนี้ ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ … Read More

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)

การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ

ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) โรงงานปลากระป๋อง สามแม่ครัว จ.สมุทรสาคร 120 ต้น

งานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) มาตรฐาน มอก. โรงงานปลากระป๋อง สามแม่ครัว สมุทรสาคร บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด | Royal Foods Co., Ltd. สถานที่: ต.ท่าทาย … Read More

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย อุปกรณ์วัดสัญญาณ จะวัดสัญญาณและแสดงผลในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแรงเทียบกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา โดยอุปกรณ์หลักจะประกอบไปด้วยหัววัดสัญญาณ … Read More

1 71 72 73 74 75