THEORY OF STRUCTURES หรือ ทฤษฎีโครงสร้าง

THEORY OF STRUCTURES หรือ ทฤษฎีโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่คำถามที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ในวันนี้จะอยู่ในแขนงวิชา THEORY OF STRUCTURES หรือ ทฤษฎีโครงสร้าง นะครับ

คำถามข้อนี้คือคำถามข้อที่ 18 โดยที่มีใจความของปัญหาข้อนี้มีดังนี้

pic theory of structures

จากโครง TRUSS รับแรงกระทำดังรูป จงหาแรงอัดภายในชิ้นส่วน DFC ที่มากที่สุด

ก่อนอื่นเราควรที่จะต้องทำการคำนวณหาค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับ A และ C ออกมาก่อน ซึ่งสามารถที่จะคำนวณหาได้จากสมการสมดุลของแรงโมเมนต์ สมการสมดุลของแรงในแนวดิ่ง และ สมการสมดุลของแรงในแนวราบ

∑M@A=0 (COUNTERCLOCKWISE DIRECTION IS POSITIVE)
4 L VC – (2 L)(P) – (2L)(3P) = 0
4 L VC = 2 P L + 6 P L
4 L VC = 8 P L
VC = 8 P L / 4 L
VC = 2 P (↑)

∑V=0 (UPWARD DIRECTION IS POSITIVE)
VA + VC – 3P = 0
VA + 2P – 3P = 0
VA = 3P – 2P
VA = P (↑)

∑H=0 (LEFT DIRECTION IS POSITIVE)
HA – P = 0
HA = P (←)

ในเมื่อปัญหาข้อนี้ต้องการที่จะทราบถึงแรงอัดในคอร์ด DFC เราก็จะอาศัย METHOD OF JOINT ในการคำนวณหาค่าแรงภายในของชิ้นส่วนต่างๆ โดยเริ่มต้นที่จุดต่อ C และ D ตามลำดับ จากนั้นเราก็ต้องนำผลของค่าแรงดึงในชิ้นส่วน CF และ DF มาทำการเปรียบเทียบกัน และ คำตอบก็คือค่าสูงสุดระหว่างทั้ง 2 แรงดังกล่าว

ซึ่งจากรูปเพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้ว่า ค่าแรงอัดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วน CF นั้นจะมีค่าเท่ากับ 2P/√2 และ ค่าแรงอัดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วน DF นั้นจะมีค่าเท่ากับ 2√2P นะครับ

ดังนั้น ค่าแรงอัดสูงสุด ที่เกิดขึ้นในคอร์ด DFC นั้นจะมีค่าเท่ากับแรงอัดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วน DF ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2√2P นะครับ

ดังนั้นคำตอบของปัญหาข้อนี้ก็คือ ข้อที่ 3 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 2√2P นั่นเองนะครับ

ข้อคิดท้ายเฉลย
ข้อสอบข้อนี้มีความต้องการที่จะทดสอบดูว่า วิศวกร ที่เป็นผู้มาทำข้อสอบข้อนี้จะมี ไหวพริบ และ ความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างของระบบของโครงสร้างโครงข้อหมุน มาก หรือ น้อย เพียงใดนะครับ

ข้อแนะนำท้ายเฉลย
หากผมจะให้คำแนะนำในการทำข้อสอบข้อนี้ ผมคิดว่าน้องๆ ไม่ควรที่จะเสียเวลาสำหรับคำถามข้อนี้มากกว่า 5 นาทีนะครับ มิเช่นนั้นอาจจะทำข้อสอบโดยรวมทั้งหมดไม่ทันได้นะครับ

ยังไงผมก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ วิศวกรทุกๆ คนที่กำลังเตรียมตัวที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพทุกๆ คนด้วยนะครับ และ หากน้องๆ ท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับข้อสอบใบประกอบวิชาชีพที่อาจจะยัง ติดขัด หรือ อาจจะไม่ทราบถึงหลักในการคำนวณ ผมก็ขอรบกวนให้ทำการแจ้งเข้ามาที่เพจได้เลยนะครับ ผมจะค่อยๆ ทำการทยอยนำมาเฉลยและตอบให้แก่น้องๆ ทุกๆ คนต่อไปครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันจันทร์
#การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา
#ทฤษฎีโครงสร้าง

ADMIN JAMES DEAN

 

Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE

1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรี ตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

ติดต่อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449