วิธีพิจารณาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็ม FOUNDATION
วิธีพิจารณาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็ม ก่อนอื่นจะต้องทราบก่อนว่า กำลังออกแบบให้โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีสมมติฐานเป็นแบบใดระหว่าง “ฐานรากที่มีความอ่อนตัว FLEXIBLE FOUNDATION” หรือว่าเป็น “ฐานรากที่มีความแข็งตัว RIGID FOUNDATION” พอทราบสมมติฐานข้างต้นแล้ว ก็จะมีเกณฑ์ในเรื่องของการคำนวณหาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด หากว่าโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นฐานรากที่มีความอ่อนตัว สำหรับกรณีนี้จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด เพราะโครงสร้างฐานรากก็จะต้องเกิดการเสียรูปได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำที่จะต้องทำการคำนึงถึงเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด หากว่าโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นฐานรากที่มีความแข็งตัว สำหรับกรณีนี้จะต้องพิจารณาเรื่องข้อจำกัดในเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด เพราะว่าเวลาออกแบบโครงสร้างฐานรากโดยอาศัยสมมติฐานนี้นั่น ก็เท่ากับว่ากำลังอาศัยทฤษฎีของแผ่นเปลือกหนาหรือ … Read More
อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)
อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More
การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST
การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST ซึ่งการทดสอบหาค่าขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธี PARALLEL SEISMIC TEST นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการที่เราจะต้องมีข้อมูลหรือหากไม่มีข้อมูลใดๆเลย ต้องทำการคาดเดาก่อนว่าเสาเข็มต้นที่เราต้องการจะทำการทดสอบนั้นจะมีความลึกประมาณเท่าใด หลังจากนั้นก็ให้ทำการสร้างหลุมเจาะขึ้นมาโดยให้อยู่ภายในรัศมีไม่เกินประมาณ 1500 มม. จากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทำการทดสอบ ต่อมาเราจะอาศัยการส่งถ่ายสัญญาณในลักษณะคลื่นลงไป ซึ่งเราจะค่อยๆ ทำการส่งผ่านให้คลื่นดังกล่าวนั้นเดินทางลงไปในโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มโดยที่เรามักจะใช้อุปกรณ์จำพวกค้อนกระแทกให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกแรงกระแทกเพื่อที่จะได้ส่งสัญญาณคลื่นนี้ลงไป (โดยที่มีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งว่า ด้านบนของโครงสร้างฐานรากหรือโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันกับโครงสร้างเสาเข็ม) … Read More
เทคนิคง่ายๆ ในการทำงานการขุดดินหรือถมดิน
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ หากเพื่อนๆ ลองนึกดูดีๆ ว่าในการเริ่มต้นงานก่อสร้างอะไรก็แล้วแต่ ขั้นตอนใดที่พวกเราจะต้องทำกันเป็นอันดับแรกเลย แน่นอนว่าคำตอบส่วนใหญ่ของเพื่อนๆ ก็คือ การขุดดิน หรือ การถมดิน … Read More