ประเภทของยางมะตอย ที่นิยมนำมาใช้งานเทปิดผิวหน้าของทางและถนน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

จริงๆ แล้วเนื้อหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาโพสต์จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการทดสอบดินเท่าใดนักเพียงแต่เป็นเพราะเมื่อสองวันก่อนมีรุ่นน้องของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาสอบถามกับผมเกี่ยวกับเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง โครงสร้างรองทางแบบมีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBLE PAVEMENT STRUCTURE ซึ่งพอได้มีการพูดถึงเรื่องๆ หนึ่งก็คืองานดิน ก็ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัสดุรองชั้นทาง หรือ SUBGRADE MATERIAL ของงานถนน ซึ่งผมก็ได้ให้คำอธิบายในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พอผมอธิบายเสร็จผมเลยมีความเห็นว่าน่าจะนำเนื้อหาในส่วนๆ นี้มาทำการแชร์เป็นความรู้แก่เพื่อนๆ ทุกคนด้วยก็น่าจะเป็นการดีซึ่งเรื่องๆ นี้ก็คือ ยางมะตอย หรือ ASPHALT เพราะที่ผ่านมาตัวของผมเองนั้นมีความเชื่อว่าเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนเองก็อยากที่จะได้รับข้อมูลและรับทราบความรู้เกี่ยวกับเจ้าวัสดุตัวนี้ด้วย วันนี้ผมจึงจะขออนุญาตนำเรื่องๆ นี้มาเล่าโดยอาจจะนอกเรื่องจากเรื่องหลักไปสักนิดนึงก็แล้วกัน ยังไงผมคงจะต้องขออภัยเพื่อนๆ ที่อาจจะติดตามเนื้อหาในเรื่องที่ผมได้ค้างเพื่อนๆ เอาไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

 

จริงๆ แล้ว ยางมะตอย ก็คือ วัสดุที่สกัดได้จากน้ำมันดิบ มีลักษณะเป็นสีดำ มีความเหนียว และ ความหนืดที่ค่อนข้างจะต่ำ ยางมะตอยจะถูกนิยมมาใช้ในงานการก่อสร้างทางและถนนเป็นหลัก โดยที่จะใช้เป็นวัสดุปิดทับที่ผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยก็คือจะทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุหยาบ เช่น หิน ทราย เป็นต้น โดยจะช่วยทำให้การผสมนั้นเข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกันได้ดียิ่งขึ้น โดยวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการเทผิวหน้าของถนนนั้นจะมีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า แอสฟัลท์ติกคอนกรีต หรือ ASPHALTIC CONCRETE และ มักที่จะเรียกแบบย่อๆ กันว่า แอสฟัลท์ นะครับ

 

หากว่าจะให้พูดถึงประเภทของยางมะตอยที่เรานิยมนำมาใช้งานเทปิดผิวหน้าของทางและถนนเราก็พอที่จะสามารถทำการจำแนกประเภทของยางมะตอยนี้ออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

 

(1) ยางมะตอยประเภทที่มีความแข็งตัว หรือ แอสฟัลท์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT หรือ AC)

 

ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางมะตอยที่ได้จากหินแอสฟัลท์ธรรมชาติ หรือ ผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ยางมะตอยชนิดนี้จะมีลักษณะที่ค่อนข้าง แข็ง และ เหนียว โดยที่ยางมะตอยชนิดนี้ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ โดยแบ่งเกณฑ์ได้ตามค่าความแข็ง ซึ่งวัดได้เป็นค่า PENETRATION GRADE ยางมะตอยชนิดนี้ยังสามารถที่จะใช้ผสมกับหินขนาดต่างๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการๆ เผาหินให้มีความร้อนและปราศจากซึ่งความชื้นแล้วค่อยนำไปผสมกับยางมะตอยชนิดนี้ที่ถูกทำให้ร้อนและเหลวพอที่จะสามารถทำการกวนและผสมให้เข้ากันได้ โดยต้องดูว่ายางมะตอยชนิดนี้จะต้องสามารถเคลือบผิวเม็ดหินได้อย่างทั่วถึงก่อนที่จะถูกนำไปใช้ปูลาดบนพื้นทาง สามารถที่จะทำการบดทับให้แน่นเป็นผิวทางบนท้องถนนจริงๆ ได้นะครับ

 

(2) ยางมะตอยประเภทที่เป็นน้ำมัน หรือ ยางคัตแบกแอสฟัลท์ (CUT BACK หรือ CB)

 

ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางยางมะตอยชนิดเหลวที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งจะได้จากการนำยางมะตอย AC มาผสมเข้ากันกับสารทำละลาย เพื่อทำให้ยางแข็ง AC นั้นมีความเหลวตัวลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องให้ความร้อนที่สูงมาก เมื่อตัวทำละลายระเหยไปก็จะทำให้ยางมะตอยนั้นมีเนื้อที่แข็งขึ้นไปอีก ซึ่งในที่สุดก็จะทำหน้าที่ในการประสานให้วัสดุต่างๆ นั้นเกิดการยึดเกาะกันแน่นมากยิ่งขึ้น หรือ พูดง่ายๆ ก็คือใช้เป็นไพรมโคทนั่นเองครับ

 

(3) ยางมะตอยประเภทที่เป็นน้ำ หรือ ยางอีมัลชั่น หรือ อีมัลซีฟายแอสฟัลท์ (EMULSIFIED ASPHALT หรือ EA)

 

ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางมะตอยน้ำที่ได้จากการใช้ยางมะตอย AC มาทำให้ร้อนและทำให้แตกตัวออกเป็นอณุภาคเล็กๆ ด้วยอีมัลซีฟายเออร์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถที่จะจับตัวและผสมเข้ากันกับอณุภาคของน้ำจนเป็นยางน้ำนั่นเอง โดยที่ยางมะตอยชนิดนี้จะมีเนื้อยางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ถึง 60 ยางชนิดนี้จะมีความสะดวกในการนำมาใช้งานมากๆ โดยสามารถที่จะนำมาใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น งานก่อสร้างทาง งานซ่อมบำรุงผิวทาง เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในการผลิตยางมะตอยชนิดนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความร้อนใดๆ ทั้งสิ้นเลย ถึงแม้ว่าวัสดุที่เป็นหินจะเปียกน้ำก็สามารถนำมาใช้กับยางประเภทนี้ได้ เมื่อน้ำระเหยไปหมดก็จะคงเหลือเอาไว้เพียงแต่เนื้อยางที่จับแน่นอยู่ที่ผิวของหินซึ่งก็จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานให้หินนั้นยึดติดเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกมากกว่าการใช้ยางมะตอย CB หรือ ยางมะตอย AC ที่จำเป็นที่จะต้องให้หินนั้นมีผิวที่แห้งและปราศจากความชื้นก่อนการใช้งานน่ะครับ

 

เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ยางมะตอย นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งยางมะตอยแต่ละประเภทนั้นก็จะมีคุณสมบัติทางด้านกายภาพต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นสำหรับการเลือกใช้งานยางมะตอยแต่ละประเภทเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้งานให้มีความเหมาะสมกับประเภทของการทำงานและคุณสมบัติที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ในคุณสมบัติของงานก่อสร้างด้วยนะครับ

 

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับ ฐานรากแบบตื้น และ ฐานรากแบบลึก กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ในครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องยางมะตอย

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com