ความรู้ด้านงานออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน ซึ่งคำถามในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไปนั่นเองนะครับ โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมเพิ่งจะทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง การออกแบบเสายาว โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะง่ายมากๆ เลยนะครับ นั่นก็คือ

หากผมมีขนาด ความยาว ของเสา ซึ่งมีขนาด หน้าตัด ของเสาดังรูปที่แสดง และ เสาต้นนี้จะต้องรับกำลังตามแนวแกนเท่ากับ P และ แรงดัดเท่ากับ M รอบแกนของเสาดังที่แสดง

หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบฝนโครงการๆ นี้และมีข้อมูลประกอบในการออกแบบเพียงเท่านี้ เพื่อนๆ คิดว่าจะทำการเลือก หน้าตัด และ ใช้งานวัสดุ ตามข้อใดมาทำการก่อสร้างโครงสร้างเสาดี โดยให้เลือกระหว่าง

 

(1) เสาทำจาก คสล หน้าตัดแบบที่ 1

(2) เสาทำจาก คสล หน้าตัดแบบที่ 2

(3) เสาทำจากเหล็กรูปพรรณ หน้าตัดแบบที่ 1

(4) เสาทำจากเหล็กรูปพรรณ หน้าตัดแบบที่ 2

 

โดยผมขอเพียงแค่เพื่อนๆ ร่วมกันตอบมาว่า จะเลือกข้อใด ระหว่าง 1 2 3 หรือ 4 และ หากเป็นไปได้เพื่อนๆ อาจจะตอบเหตุผลที่เพื่อนๆ นั้นได้ทำการเลือกวัสดุดังกล่าวมาใช้งานด้วย ก็จะยิ่งเป็นการทำให้กระบวนการในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเรานั้นเป็นไปด้วยดียิ่งขึ้นไปอีกนะครับ

#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การออกแบบเสายาว

 

เฉลย

 

หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบฝนโครงการๆ นี้และมีข้อมูลประกอบในการออกแบบเพียงเท่านี้ เพื่อนๆ คิดว่าจะทำการเลือก หน้าตัด และ ใช้งานวัสดุ ตามข้อใดมาทำการก่อสร้างโครงสร้างเสาดี โดยให้เลือกระหว่าง

 

(1) เสาทำจาก คสล หน้าตัดแบบที่ 1

(2) เสาทำจาก คสล หน้าตัดแบบที่ 2

(3) เสาทำจากเหล็กรูปพรรณ หน้าตัดแบบที่ 1

(4) เสาทำจากเหล็กรูปพรรณ หน้าตัดแบบที่ 2

 

เอาละครับ เราจะลองมาไขหาคำตอบของปัญหาข้อนี้ไปพร้อมๆ กันดีกว่านะครับ โดยอาจเริ่มจากเรื่องการเลือกตัว วัสดุหลัก กันก่อนนะครับ

 

สำหรับปัญหาข้อนี้จะเห็นได้ว่าทั้งเสาที่ทำจาก คอนกรีตเสริมเหล็ก และ เหล็กรูปพรรณ นั้นจะมีขนาดของหน้าตัดที่มีขนาดเท่าๆ กันทั้งหมด ดังนั้นเราย่อมที่จะทำการเลือก วัสุดหลัก ที่มีค่าความแข็งแกร่งมากกว่าได้เลย ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าวัสดุใดนั้นมีความแข็งแกร่งมากหรือน้อยก็คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น หรือ ELASTIC MODULUS นะครับ

 

หากเป็นวัสดุ คอนกรีต ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นโดยประมาณจะอยู่ที่ 200,000 KSC และหากเป็นวัสดุ เหล็กรูปพรรณ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,000,000 KSC กล่าวคือ เหล็กรูปพรรณ นั้นจะมี ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ที่สูงกว่า คอนกรีต อยู่ถึงประมาณ 10 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้นเราจะสามารถทำการตัดข้อ (1) และ (2) ออกไปก่อนได้เลย และ คงเอาไว้เฉพาะข้อ (3) และ (4) นะครับ

 

ต่อมาเราจะอาศัยหลักการที่ว่า เสาสั้น และ เสายาว นั้นจะสามารถทำการจำแนกแตกต่างกันโดยการพิจารณาจากค่า สัดส่วนความชะลูด หรือ SLENDERNESS RATIO เป็นหลัก คำถามก็คือในปัญหาข้อนี้ เสาหน้าตัดใดที่มีความชะลูดสูงกว่ากัน เพราะ จะเห็นได้ว่าเสาต้นนี้จะมี ระยะการค้ำยันทางด้านข้าง หรือ LATERAL BRACED LENGTH ในทุกๆ แกนเกิดขึ้นเฉพาะที่ ปลายล่าง และ ปลายบน เพียงเท่านั้น ซึ่งการที่เป็นแบบนี้ก็จะทำให้การวางหน้าตัดทั้งแบบ (3) และ (4) จะทำให้เสานั้นมีค่ากำลังรับแรงตามแนวแกน P ที่เท่าๆ กัน ดังนั้นคำตอบของปัญหาข้อนี้จึงต้องขึ้นอยู่กับว่า หน้าตัดใดที่จะมีความสามารถในการรับค่าแรงดัด M ที่มากกว่ากันนั่นเอง

 

หากวางตามข้อ (4) ซึ่งเป็นหน้าตัดที่มีการวางให้แกนแข็ง หรือ STRONG AXIS นั้นวางตัวอยู่กันคนละแกนกับแกนที่โมเมนต์ดัด M นั้นกระทำอยู่ ทำให้ในที่สุดหน้าตัดก็จะมีความสามารถในการต้านทานต่อแรงดัด M ที่น้อย ดังนั้นข้อนี้จึงยังไม่ใช่คำตอบนะครับ

 

หากวางตามข้อ (3) ซึ่งเป็นหน้าตัดที่มีการวางให้แกนแข็ง หรือ STRONG AXIS นั้นวางตัวอยู่บนแกนเดียวกันกับแกนที่โมเมนต์ดัด M นั้นกระทำอยู่ ทำให้ในที่สุดหน้าตัดก็จะมีความสามารถในการต้านทานต่อแรงดัด M ที่มากนั่นเองครับ

 

ดังนั้นคำตอบข้อนี้ก็คือข้อที่ (3) นั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com