ความใส่ใจในการตรวจวัดค่าต่างๆ รวมถึงค่าขนาดของคลื่นความถี่ในการเกิดแผ่นดินไหวหนึ่งขึ้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

 (รูปที่1)

วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่ผมจะอยู่ที่ประเทศไต้หวัน โดยที่จะเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ยังไงวันนี้ผมจะนำเรื่องน่าสนใจประการหนึ่งมาฝากเป็นความรู้และข้อคิดดีๆ แก่เพื่อนๆ นั่นก็คือเรื่องความใส่ใจในการตรวจวัดค่าต่างๆ ซึ่งก็จะรวมไปถึงค่าขนาดของคลื่นความถี่ในการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหนึ่งๆ ขึ้น เหมือนกับในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของคลื่นแผ่นดินไหวที่มีชื่อว่า CHI-CHI EARTHQUAKE ซึ่งเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถือได้ว่ามีความรุนแรงมากๆ ที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ที่ประเทศไต้หวันนั่นเองครับ

 

ก่อนอื่นๆ ต้องขอย้อนคำพูดของผมก่อนหน้านี้ว่า เนื่องจากเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไต้หวันนั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ เค้าจึงกล้าที่จะทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับการศึกษาและวิจัยในเรื่องๆ นี้โดยไม่ลังเลเลย ด้วยเหตุนี้เองในประเทศไต้หวันจึงมีการออกคำสั่งจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องให้องค์กรต่างๆ ที่ทำการก่อสร้างอาคารหรือสถานที่ใดๆ ก็แล้วแต่ให้ทำการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าต่างๆ เมื่อเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นในหลายๆ อาคารเป็นจำนวนมากๆ เลยละครับ

 (รูปที่2)

 (รูปที่3)

โดยที่เจ้าเครื่องมือๆ นี้จะมีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่โตหรือเกะกะอะไรเลย เหมือนดังตัวอย่างดังเช่นในรูปที่ 2 และ 3 ที่ผมได้นำมาประกอบในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นรูปอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าต่างๆ ซึ่งก็จะรวมไปถึงค่าขนาดของคลื่นความถี่ในการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในอาคารหลังนี้ ทั้งนี้เค้าจะเลือกทำการติดตั้งเจ้าเครื่องมือๆ นี้โดยวิธีการสุ่มติดตั้งเข้าไปในอาคารต่างๆ ในประเทศไต้หวัน โดยเฉพาะในอาคารที่ที่ถือได้ว่ามีความสลักสำคัญต่อการใช้งานอาคาร นั่นเป็นเพราะว่ายิ่งการที่เราสามารถทำการตรวจสอบชี้วัดได้ว่า แผ่นดินไหวกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อใดกับอาคารบ้านเรือนของเราได้ยิ่งมีความรวดเร็วมากเท่าใด ต่อให้ระยะเวลาดังกล่าวนี้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาทีก็ตาม แต่นั่นก็ดีเพียงพอแล้วเพราะมันจะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความอยู่รอดปลอดภัยหรือความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่อยู่อาศัยในอาคารบ้านเรือนนั้นๆ เป็นอย่างมากเลยละครับ

 

สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ในวันนี้มีเพียงแค่ข้อความสั้นๆ ว่า สิ่งที่ประเทศไต้หวันได้ทำไปนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีและมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมากแต่ผมก็เข้าใจดีเช่นกันว่า ในประเทศไทยของเราปัญหาในเรื่องภัยพิบัติที่จะเกิดจากคลื่นของแผ่นดินไหวนั้นอาจจะไม่ถือว่ามีความรุนแรงและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากนัก ยิ่งหากนำเอากรณีของประเทศไทยของเราไปเปรียบเทียบกับกรณีในประเทศไต้หวันด้วยแล้วก็คงจะแตกต่างกันราวฟ้ากับเหวเลย ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีโอกาสที่จะได้ร่วมทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งในการก่อสร้างอาคารหนึ่งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ถูกจัดอยู่ในประเภทอาคารสาธารณะ ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเป็น เจ้าของอาคารก็ดีหรือเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการทำงานก็ดีหรือวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมการทำงานก็ดี สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ให้เพื่อนๆ ได้จดจำและพึงระลึกถึงกันอยู่เสมอก็คือ ผมอยากที่จะขอให้พวกเราทุกๆ คนนั้นได้คิดคำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติที่อาจจะเกิดจากคลื่นแผ่นดินไหวด้วยก็จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรทำเป็นอย่างยิ่งเพราะแน่นอนว่า การที่เราคิดวิธีในการป้องกันมิให้ปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นเอาไว้ก่อน ก็ย่อมที่จะเป็นการดีกว่าการที่เราจะรอให้ปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นแล้วเราค่อยมานั่งคิดนั่งทำการแก้ปัญหานั้นๆ ในภายหลัง เพราะจริงๆ แล้วจากผลการตรวจวัดและการทำงานวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นก็จะพบว่าขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวนั้นสามารถทำการจำแนกให้อยู่ในประเภทแผ่นดินไหวขนาดกลางหรือ MODERATE EARTHQUAKE เพียงเท่านั้น ซึ่งผลจากการเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างในหมวดงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารที่ ไม่ได้รับ และ ได้รับ การคำนึงถึงเรื่องแรงกระทำจากแผ่นดินไหวก็จะพบได้ว่ามีความแตกต่างกันอยู่ในอัตราส่วนที่ถือได้ว่าไม่ได้สูงอะไรมากมายนัก กล่าวคือต่ำที่สุดก็จะอยู่ที่ประมาณ 5% มากที่สุดก็จะอยู่ที่ประมาณ 20% ดังนั้นหากเราทำการคำนึงถึงเรื่องราวดังกล่าวเอาไว้ก่อน ก็ย่อมที่จะส่งผลดีมากกว่าการที่เราปล่อยปละละเลย ไม่สนใจหรือไม่คำนึงถึงเรื่องความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวเลย ไม่ว่าจะในแง่ใดๆ ก็ตามครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com